Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ
สรุปความรู้ ที่ได้รับจากการโทรทัศน์ครู เรื่องการสร้างฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยครูจะใช้ของจริงเพื่อเน้นและกระตุ้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมูก-ดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส กาย-สัมผัส
ขั้นตอนที่การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง
:เมื่อเด็กเห็นของจริง เด็กจะซึมซับในสิ่งที่เด็กเห็น เช่น เล็ก ใหญ่ เป็นต้น
ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง
:เด็กได้เปรียบเทียบเสียงจากกระบอกเสียงและเปลือกหอย
ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส
เด็กได้สัมผัสจากสื่อของจริงที่ครูจัดให้ เริ่มต้นจากรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียดต่างกัน
ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น
ครูให้เด็กได้ดมกลิ่น 4 กลิ่น เด็กได้ดมกลิ่นเองและสามารถบอกครูได้ว่าสิ่งที่ดม มีกลิ่นอะไรบ้าง
ประสาทสัมผัสที่ 5 การสัมผัส
เด็กได้ชิมรส ซึ่งมี 4 รสชาด คือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน และขม เด็กได้เกิดการเรียนรู้ โดยนำสิ่งที่เด็กชิม ไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยได้รับประสบการณ์มา
***หัวใจสำคัญในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเตรียมความพร้อมที่เด็กจะได้เรียนรู้ในขั้นที่สูงต่อไป
และประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นองค์ประกอบหลักในการได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood.
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556
30 September 2013
Learning Week 19.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อทุกชนิด ได้แก่สื่อของเล่น สื่อเข้ามุม
อาจารย์สรุปการเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
23 September 2013
Learning Week 18.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้มีการสาธิตการจัดประสบการณ์การทำ cooking แกงจืด จากเพื่อนกลุ่มตัวแทนของห้อง
![]() |
การทำCookingแกงจืด |
โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา?
2.เด็กๆเก่งมากๆเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ?
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมันอันตราย
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ?
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ?เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครูบ้างคะ?
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?
16 September 2013
Learning Week 17.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน (เบียร์) มาสอนการเขียนแผนในการทำ Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้าง ในความคิดของนักศึกษา |
2. อาจารย์ให้ระดมความคิดกันเลือกเมนูอาหารที่นักศึกษา แต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวกับ เมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม |
3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น |
4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง |
ภาพนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม |
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
15 September 2013
Learning Week 16.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
*หมายเหตุ วันนี้มีการเรียนการสอนชดเชย
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะนักศึกษาในการทำและปรับปรุงแก้ไขบล็อกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการสอนต่อจากวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา
นำเสนอการทดลอง
นำเสนอสื่อของเล่น(มุมจัดประสบการณ์)
- กระป๋องผิวปาก
- กระดาษร้องเพลง
- กรวยลูกโปร่ง
- กิ้งก่าไต่เชือก
- กระป๋องมูมเมอแรง- ตุ๊กตาล้มลุก
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา
นำเสนอการทดลอง
- กาลักน้ำ
- ตะเกียบยกขวด
- ดอกไม้บาน
- กระป๋องผิวปาก
- กระดาษร้องเพลง
- กรวยลูกโปร่ง
- กิ้งก่าไต่เชือก
ภาพกิจกรรมการนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
09 September 2013
Learning Week 15.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อที่จะนำมาส่งในการเรียนการสอนในสัปดาห์ต่อไป
02 September 2013
Learning Week 14.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม
โดยกลุ่มของดิฉัน ได้นำเสนอกีต้าร์กล่อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)