วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปความรู้จากโทรทัศครู

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ

สรุปความรู้ ที่ได้รับจากการโทรทัศน์ครู เรื่องการสร้างฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยครูจะใช้ของจริงเพื่อเน้นและกระตุ้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมูก-ดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส กาย-สัมผัส 
ขั้นตอนที่การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง
:เมื่อเด็กเห็นของจริง เด็กจะซึมซับในสิ่งที่เด็กเห็น เช่น เล็ก ใหญ่ เป็นต้น
ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง
:เด็กได้เปรียบเทียบเสียงจากกระบอกเสียงและเปลือกหอย
ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส
เด็กได้สัมผัสจากสื่อของจริงที่ครูจัดให้ เริ่มต้นจากรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียดต่างกัน
ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น
ครูให้เด็กได้ดมกลิ่น 4 กลิ่น เด็กได้ดมกลิ่นเองและสามารถบอกครูได้ว่าสิ่งที่ดม มีกลิ่นอะไรบ้าง
ประสาทสัมผัสที่ 5 การสัมผัส
เด็กได้ชิมรส ซึ่งมี 4 รสชาด คือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน และขม เด็กได้เกิดการเรียนรู้ โดยนำสิ่งที่เด็กชิม ไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยได้รับประสบการณ์มา
***หัวใจสำคัญในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเตรียมความพร้อมที่เด็กจะได้เรียนรู้ในขั้นที่สูงต่อไป 
และประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นองค์ประกอบหลักในการได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 






30 September 2013


Learning Week 19.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อทุกชนิด ได้แก่สื่อของเล่น สื่อเข้ามุม 
อาจารย์สรุปการเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




23 September 2013


Learning Week 18.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

วันนี้มีการสาธิตการจัดประสบการณ์การทำ cooking แกงจืด จากเพื่อนกลุ่มตัวแทนของห้อง

การทำCookingแกงจืด


โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา?
2.เด็กๆเก่งมากๆเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ?
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมันอันตราย
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ?
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ?เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครูบ้างคะ?
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?




16 September 2013


Learning Week 17.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน (เบียร์) มาสอนการเขียนแผนในการทำ Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย




อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้าง
ในความคิดของนักศึกษา




2. อาจารย์ให้ระดมความคิดกันเลือกเมนูอาหารที่นักศึกษา
แต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวกับ
เมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม



3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด
เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น




4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง




ภาพนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม




วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

15 September 2013


Learning Week 16.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

*หมายเหตุ วันนี้มีการเรียนการสอนชดเชย

อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะนักศึกษาในการทำและปรับปรุงแก้ไขบล็อกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการสอนต่อจากวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา

นำเสนอการทดลอง
 - กาลักน้ำ
 - ตะเกียบยกขวด
- ดอกไม้บาน


นำเสนอสื่อของเล่น(มุมจัดประสบการณ์)       
- กระป๋องผิวปาก                                            
- กระดาษร้องเพลง                                         
- กรวยลูกโปร่ง                                               
- กิ้งก่าไต่เชือก

 - กระป๋องมูมเมอแรง- ตุ๊กตาล้มลุก


ภาพกิจกรรมการนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






09 September 2013


Learning Week 15.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อที่จะนำมาส่งในการเรียนการสอนในสัปดาห์ต่อไป




02 September 2013


Learning Week 14.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม





โดยกลุ่มของดิฉัน ได้นำเสนอกีต้าร์กล่อง
ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม ดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร สุดารเดช 5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ นนตะพันธ์ 5411201469
3.นางสาววิไลพร ชินภักดิ์ 5411201667















วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

26 August 2013


Learning Week 13.


การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

สรุปงานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ของ
เอราวรรณ ศรีจักร


ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน
และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับ
เด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรม
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์
ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับ
สลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง
จำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการ
ทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนกประเภท
2.3 การสื่อสาร
2.4 การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถของ
เด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้
จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมี
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและ
ความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่
ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่ง
ที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
เพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของ
รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือ
กระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้
ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่าง
ใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับ
จากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็น
ฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
จำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา 
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ
คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ
ทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

ที่มา: http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Arawan_S.pdf 








19 August 2013


Learning Week 12.

การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ เทียนไขดูดน้ำ
ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม ดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร สุดารเดช 5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ นนตะพันธ์ 5411201469
3.นางสาววิไลพร ชินภักดิ์ 5411201667
มีวิธีการนำเสนอดังนี้


-ครูสนทนาถามตอบกับเด็ก: "เด็กๆเห็นไหมคะ ว่าวันนี้ครูเตรียมอะไรมาบ้าง"
"เด็กๆคิดว่าสิ่งครูเตรียมมาจะทำอะไรได้บ้าง"



-ครูสนทนากับเด็ก "วันนี้เราจะทำการทดลองเทียนไขดูดน้ำ เด็กๆอยากทดลองกันไหมค่ะ"


-ครูสนทนากับเด็ก "เด็กสังเกตดูนะคะว่าครูทำอะไร"
-จากนั้นครูจุดไฟที่เทียนไข


-ครูสนทนากับเด็ก: "ต่อไปเราจะเทน้ำใส่จาน ครูอยากขออาสาสมัครมาช่วยครูเทน้ำหน่อยค่ะ"



-ครูสนนาถามตอบกับเด็ก: "ถ้าครูนำขวดแก้วมาครอบลงบนเทียนไข เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น 
(ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน)



-ครูนำขวดแก้วมาครอบลงบนเทียนไข



-ครูสนทนาถามตอบกับเด็กๆ: "เด็กๆลองบอกครูซิว่าเด็กๆสังเกตุเห็นอะไรบ้าง"
-ครูสรุปการทดลองเทียนไขดูดน้ำร่วมกับเด็ก
สรุปผลการทดลองสาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาการสันดาป เกิดจากก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการเผาไหม้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วหลังจากนั้นความดันอากาศที่อยู่ภายในแก้วจะลดน้อยลง ความดันอากาศที่อยู่นอกแก้วจะมาขึ้น จึงดันน้ำที่อยู่ภายนอกแก้วนั้นเข้าไปอยู่ในแก้ว

**การทดลองนี้เด็กได้พัฒนาการด้านสติปัญญา จากการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์


การนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยนักศึกษาเอกปฐมวัย











17 August 2013


Learning Week 11.

การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ 
โดยสื่อของเล่นที่ดิฉันนำไปเสนอชื่อ กรวยลูกโป่ง  

กรวยลูกโป่ง

อุปกรณ์ -ขวดน้ำ -ลูกโป่ง -เทปกาวสี -คัตเตอร์  -ดินน้ำมัน
วิธีทำ 1.นำขวดน้ำมาตัดเอาเฉพาะส่วนหัว
2.นำเทปกาวสีมาติดรอบบริเวณที่ตัด
4. นำลูกโป่งมาใส่ที่บริเวณปากขวด
วิธีเล่น: นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นลูกเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปที่กรวยลูกโป่ง จากนั้นก็ดึงลูกโป่งให้ตึงแล้วปล่อย ดินน้ำมันก็จพุ่งออกมาด้านหน้า 
หลักการ: ขณะที่ดึงลูกโป่งให้ตึงจะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ และเมื่อเราปล่อยลูกโป่งก็จะเกิดพลังงานจลน์เพื่อใช้ขับเคลื่อนเป็นพลังงานให้ดินน้ำมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงพลังงานที่สะสม


***พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้

การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น