วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

17 August 2013


Learning Week 11.

การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(
Science Experiences Management for Early Childhood) 


Knowledge.

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ 
โดยสื่อของเล่นที่ดิฉันนำไปเสนอชื่อ กรวยลูกโป่ง  

กรวยลูกโป่ง

อุปกรณ์ -ขวดน้ำ -ลูกโป่ง -เทปกาวสี -คัตเตอร์  -ดินน้ำมัน
วิธีทำ 1.นำขวดน้ำมาตัดเอาเฉพาะส่วนหัว
2.นำเทปกาวสีมาติดรอบบริเวณที่ตัด
4. นำลูกโป่งมาใส่ที่บริเวณปากขวด
วิธีเล่น: นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นลูกเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปที่กรวยลูกโป่ง จากนั้นก็ดึงลูกโป่งให้ตึงแล้วปล่อย ดินน้ำมันก็จพุ่งออกมาด้านหน้า 
หลักการ: ขณะที่ดึงลูกโป่งให้ตึงจะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ และเมื่อเราปล่อยลูกโป่งก็จะเกิดพลังงานจลน์เพื่อใช้ขับเคลื่อนเป็นพลังงานให้ดินน้ำมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงพลังงานที่สะสม


***พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้

การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น