Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ
สรุปความรู้ ที่ได้รับจากการโทรทัศน์ครู เรื่องการสร้างฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยครูจะใช้ของจริงเพื่อเน้นและกระตุ้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมูก-ดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส กาย-สัมผัส
ขั้นตอนที่การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง
:เมื่อเด็กเห็นของจริง เด็กจะซึมซับในสิ่งที่เด็กเห็น เช่น เล็ก ใหญ่ เป็นต้น
ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง
:เด็กได้เปรียบเทียบเสียงจากกระบอกเสียงและเปลือกหอย
ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส
เด็กได้สัมผัสจากสื่อของจริงที่ครูจัดให้ เริ่มต้นจากรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียดต่างกัน
ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น
ครูให้เด็กได้ดมกลิ่น 4 กลิ่น เด็กได้ดมกลิ่นเองและสามารถบอกครูได้ว่าสิ่งที่ดม มีกลิ่นอะไรบ้าง
ประสาทสัมผัสที่ 5 การสัมผัส
เด็กได้ชิมรส ซึ่งมี 4 รสชาด คือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน และขม เด็กได้เกิดการเรียนรู้ โดยนำสิ่งที่เด็กชิม ไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยได้รับประสบการณ์มา
***หัวใจสำคัญในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเตรียมความพร้อมที่เด็กจะได้เรียนรู้ในขั้นที่สูงต่อไป
และประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นองค์ประกอบหลักในการได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556
30 September 2013
Learning Week 19.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อทุกชนิด ได้แก่สื่อของเล่น สื่อเข้ามุม
อาจารย์สรุปการเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
23 September 2013
Learning Week 18.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้มีการสาธิตการจัดประสบการณ์การทำ cooking แกงจืด จากเพื่อนกลุ่มตัวแทนของห้อง
![]() |
การทำCookingแกงจืด |
โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา?
2.เด็กๆเก่งมากๆเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ?
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมันอันตราย
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ?
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ?เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครูบ้างคะ?
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?
16 September 2013
Learning Week 17.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
วันนี้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน (เบียร์) มาสอนการเขียนแผนในการทำ Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้าง ในความคิดของนักศึกษา |
2. อาจารย์ให้ระดมความคิดกันเลือกเมนูอาหารที่นักศึกษา แต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวกับ เมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม |
3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น |
4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง |
ภาพนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม |
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
15 September 2013
Learning Week 16.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
*หมายเหตุ วันนี้มีการเรียนการสอนชดเชย
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะนักศึกษาในการทำและปรับปรุงแก้ไขบล็อกให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการสอนต่อจากวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา
นำเสนอการทดลอง
นำเสนอสื่อของเล่น(มุมจัดประสบการณ์)
- กระป๋องผิวปาก
- กระดาษร้องเพลง
- กรวยลูกโปร่ง
- กิ้งก่าไต่เชือก
- กระป๋องมูมเมอแรง- ตุ๊กตาล้มลุก
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา
นำเสนอการทดลอง
- กาลักน้ำ
- ตะเกียบยกขวด
- ดอกไม้บาน
- กระป๋องผิวปาก
- กระดาษร้องเพลง
- กรวยลูกโปร่ง
- กิ้งก่าไต่เชือก
ภาพกิจกรรมการนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
09 September 2013
Learning Week 15.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อที่จะนำมาส่งในการเรียนการสอนในสัปดาห์ต่อไป
02 September 2013
Learning Week 14.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อเข้ามุม
โดยกลุ่มของดิฉัน ได้นำเสนอกีต้าร์กล่อง
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556
26 August 2013
Learning Week 13.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
สรุปงานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ของ
เอราวรรณ ศรีจักร
ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนก
รายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน
และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับ
เด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรม
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์
ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง
กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับ
สลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง
จำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการ
ทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนกประเภท
2.3 การสื่อสาร
2.4 การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถของ
เด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้
จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมี
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและ
ความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่
ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่ง
ที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
เพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของ
รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือ
กระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้
ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่าง
ใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับ
จากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็น
ฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
จำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ
คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ
ทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ที่มา: http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Arawan_S.pdf
19 August 2013
Learning Week 12.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ เทียนไขดูดน้ำ
ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม ดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร สุดารเดช 5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ นนตะพันธ์ 5411201469
3.นางสาววิไลพร ชินภักดิ์ 5411201667
มีวิธีการนำเสนอดังนี้
![]() |
-ครูสนทนาถามตอบกับเด็ก: "เด็กๆเห็นไหมคะ ว่าวันนี้ครูเตรียมอะไรมาบ้าง" "เด็กๆคิดว่าสิ่งครูเตรียมมาจะทำอะไรได้บ้าง" |
![]() |
-ครูสนทนากับเด็ก "วันนี้เราจะทำการทดลองเทียนไขดูดน้ำ เด็กๆอยากทดลองกันไหมค่ะ" |
![]() |
-ครูสนทนากับเด็ก "เด็กสังเกตดูนะคะว่าครูทำอะไร" -จากนั้นครูจุดไฟที่เทียนไข |
![]() |
-ครูสนทนากับเด็ก: "ต่อไปเราจะเทน้ำใส่จาน ครูอยากขออาสาสมัครมาช่วยครูเทน้ำหน่อยค่ะ" |
![]() |
-ครูสนนาถามตอบกับเด็ก: "ถ้าครูนำขวดแก้วมาครอบลงบนเทียนไข เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น (ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน) |
![]() |
-ครูนำขวดแก้วมาครอบลงบนเทียนไข |
![]() |
-ครูสนทนาถามตอบกับเด็กๆ: "เด็กๆลองบอกครูซิว่าเด็กๆสังเกตุเห็นอะไรบ้าง" -ครูสรุปการทดลองเทียนไขดูดน้ำร่วมกับเด็ก |
สรุปผลการทดลอง: สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาการสันดาป เกิดจากก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการเผาไหม้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วหลังจากนั้นความดันอากาศที่อยู่ภายในแก้วจะลดน้อยลง ความดันอากาศที่อยู่นอกแก้วจะมาขึ้น จึงดันน้ำที่อยู่ภายนอกแก้วนั้นเข้าไปอยู่ในแก้ว
**การทดลองนี้เด็กได้พัฒนาการด้านสติปัญญา จากการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
17 August 2013
Learning Week 11.
การเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood)
(Science Experiences Management for Early Childhood)
Knowledge.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
โดยสื่อของเล่นที่ดิฉันนำไปเสนอชื่อ กรวยลูกโป่ง
กรวยลูกโป่ง |
อุปกรณ์ -ขวดน้ำ -ลูกโป่ง -เทปกาวสี -คัตเตอร์ -ดินน้ำมัน
วิธีทำ 1.นำขวดน้ำมาตัดเอาเฉพาะส่วนหัว
2.นำเทปกาวสีมาติดรอบบริเวณที่ตัด
4. นำลูกโป่งมาใส่ที่บริเวณปากขวด
วิธีเล่น: นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นลูกเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปที่กรวยลูกโป่ง จากนั้นก็ดึงลูกโป่งให้ตึงแล้วปล่อย ดินน้ำมันก็จพุ่งออกมาด้านหน้า
หลักการ: ขณะที่ดึงลูกโป่งให้ตึงจะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ และเมื่อเราปล่อยลูกโป่งก็จะเกิดพลังงานจลน์เพื่อใช้ขับเคลื่อนเป็นพลังงานให้ดินน้ำมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงพลังงานที่สะสม
***พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้
การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)